The Contestation of "Good Politics": Explaining Conflict and Polarisation in Thailand.

Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading   Processing Request
  • Additional Information
    • Abstract:
      This article focuses on contestation over "good politics" in Thailand among yellow and red shirt supporters, and conflict and polarisation, in the last decade. It applies the phenomenology of "everyday politics" to understand the diversity of perceptions, thoughts, beliefs, experiences and emotions of the different sets of protesters, and shows how they define good politics in their own terms. The main argument is that conflicts between the yellow shirts and the red shirts cannot be fully comprehended simply by contrasting two political ideologies and social classes. Thai political conflicts represent the contestation of different meanings of good politics, which themselves reflect the complexities of underlying social conflicts, as well as the disintegration of the legitimacy of Thailand's political order. Significantly, these different meanings of good politics reflect different emotional and political realities both between and within the yellow and red shirt supporters. These different realities closely link to experiences of cultural learning, social class and conflict issues in specific contexts and positions. [ABSTRACT FROM AUTHOR]
    • Abstract:
      บทความนี้มุ่งเน้นไปที่การช่วงชิงความหมายของ "การเมืองที่ดี" ของผู้สนับสนุนกลุ่มประท้วงเสื้อสีแดงและสีเหลืองในช่วงของความขัดแย้งและการแบ่งขั้วทางการเมืองของประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบปรากฎการณ์นิยมของการเมืองในชีวิตประจำวันของ Andrew Walker และ Benedict J. Kerkvliet เพื่อทำความเข้าใจความหลากหลายของการรับรู้ ความคิด ความเชื่อ ประสบการณ์ และอารมณ์ของผู้ประท้วงในกลุ่มเสื้อเหลืองและเสื้อแดงจากจังหวัดเชียงใหม่ อุดรธานี กรุงเทพฯ และหาดใหญ่ บทความนี้มุ่งเน้นให้เห็นว่า ผู้ประท้วงในกลุ่มเสื้อเหลืองและเสื้อแดงต่างนิยามและมีความต้องการการเมืองที่ดีในแบบของตนอย่างไร ข้อโต้แย้งหลักของงาน คือ ความขัดแย้งแบบแบ่งแยกระหว่างเสื้อเหลืองและเสื้อแดงไม่สามารถทำความเข้าใจได้เพียงแค่ความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์ทางการเมือง และชนชั้นทางทางสังคม แท้จริงแล้วปัญหาของการเมืองไทยที่สำคัญ คือ การช่วงชิงความหมายที่แตกต่างกันของการเมืองที่ดีซึ่งสะท้อนความซับซ้อนและความขัดแย้งสำคัญที่ซ่อนตัวอยู่ในสังคมไทย อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นหนึ่งเดียวกันของความหมายทางการเมืองและความชอบธรรมทางการเมืองของระเบียบทางการเมืองไทย และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ ความแตกต่างของความหมายของการเมืองที่ดีได้สะท้อนถึงความแตกต่างของความจริงทางอารมณ์ความรู้สึกและการเมืองระหว่างและภายในกลุ่มผู้สนับสนุนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงจากสี่พื้นที่ ความแตกต่างของความจริงเหล่านี้เชื่อมโยงอย่างสำคัญกับประสบการณ์ของการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ชนชั้นทางสังคม และประเด็นของความขัดแย้งที่หลากหลายภายในบริบทและตำแหน่งแห่งที่เฉพาะของผู้คนเหล่านี้ [ABSTRACT FROM AUTHOR]
    • Abstract:
      Copyright of Asian Studies Review is the property of Routledge and its content may not be copied or emailed to multiple sites or posted to a listserv without the copyright holder's express written permission. However, users may print, download, or email articles for individual use. This abstract may be abridged. No warranty is given about the accuracy of the copy. Users should refer to the original published version of the material for the full abstract. (Copyright applies to all Abstracts.)